CoQ10 กับ 4 ความเสี่ยงเมื่อร่างกายขาด

โคคิวเทน (CoQ10) คืออะไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ “CoQ10” อยู่บ่อยๆ แต่ยังสงสัยว่ามาจากอะไร ตัว Q มาจากสารชื่อควิโนน ส่วน 10 มาจากจำนวนของสารไอโซพรีนิลที่มาเกาะกับควิโนน และเป็นตัวช่วยการทำงานของเอนไซม์จึงเรียกว่า โอเอนไซม์

คุณสมบัติของโคเอนไซม์คิวเท็น คือ ละลายได้ดีในไขมัน มีหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ พบว่า 95% ของพลังงานที่ร่างกายมนุษญ์สร้างขึ้นต้องใช้โคเอนไซม์คิวเทน ร่างกายสามารถสร้างโคเอนไซม์คิวเทนขึ้นเองได้โดยอาศัยกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนหรือไทโรซีนตัวใดตัวหนึ่งจากอาหารจำพวกโปรตีน และวิตามินบี 6 อาหารที่เป็นแหล่งของโคเอนไซม์คิวเทน เช่น ปลา ไก่ เนื้อ น้ำมันถั่วเหลือง ไข่ ผัก

โคเอนไซม์คิวเทน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง สามารถช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งปกติจะต้องใช้พลังงานอย่างมากเพราะเป็นส่วนที่ช่วยสูบฉีดระบบไหลเวียนโลหิตไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย โคเอนไวม์คิวเทนช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ลดอนุมูลอิสระ และยังมีบทบาทในการช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว ป้องกันริ้วรอย และชะลอการแก่ก่อนวัย รวมถึงช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

รู้หรือไม่… การปรุงอาหารด้วยความร้อนทำลาย CoQ10 14-32%

การปรุงอาหารให้สุกผ่านความร้อนนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคและลดความเสี่ยงที่จะนำเชื้อต่างๆเข้าสู่ร่างกาย แต่รู้หรือไม่ว่าการปรุงอาหารโดยใช้ความร้อน นอกจากจะทำลายเชื้อโรคแล้ว ยังทำลายสารโคเอนไซม์คิวเทนให้ลดน้อยลงไปถึง 14-32% เลยทีเดียว ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกด้วยความร้อนเป็นเวลานานๆอาจทำให้โคเอนไซม์คิวเทนที่อยู่ในอาหารสลายไปหมด เช่น การต้มหรือทอดนานๆ

 

“4 ความเสี่ยงเมื่อร่างกายขาด CoQ10”

 

ระบบหัวใจ

1. เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับ “หลอดเลือดและระบบหัวใจ”

เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานอย่างมาก และโคคิวเทนก็เป็นสารที่ช่วยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้น เมื่อร่างกายขาดโคคิวเทนแน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจที่ลดลง ทำให้กระบวนการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆน้อยลงและอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าโคคิวเทนมีส่วนลดการก่อตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด และช่วยให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นได้ดี จึงมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้

 

เซลล์ในร่างกาย

2. เสี่ยงต่อ “เซลล์ในร่างกาย หยุดทำงานทันที”

โคคิวเทน จัดเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นสำหรับการสร้างพลังงานระกับเซลล์ หรือ เอทีพี (ATP) ให้กับทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย ดังนั้นหากร่างกายขาดโคคิวเทนก็จะส่งผลให้เซลล์นั้น ๆ ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

พาร์กินสัน

3. เสี่ยงต่อการเกิด “โรคพาร์กินสัน”

โรคพาร์กินสันเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ โดยเฉพพาะเซลล์ประสาทบริเวณสมอง ทำให้เซลล์สมองของการควบคุมประสาทการเคลื่อนไหวเสื่อมลง ซึ่งโคคิวเทนจะไปช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์สมอง ดังนั้นจึงช่วยลดการเสื่อมของเซลล์และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสัน

 

CoQ10

4. เสี่ยงต่อการเกิด “โรคอัลไซเมอร์”

เซลล์สมองต้องการพลังงานมาก และแน่นอนว่าสารที่ช่วยในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์สมองได้ดีก็คือโคคิวเทนนั่นเอง นอกจากนี้โคคิวเทนยังช่วยต้านอนุมูลอิสระรอบๆผนังเซลล์ ไม่ให้เข้าไปทำลายดีเอ็นเออีกด้วย ดังนั้นการที่ร่างกายขาดโคคิวเทนจะทำให้เซลล์สูญเสียตัวช่วยสร้างพลังงาน ส่งผลให้สมองล้าและเสียหาย ก่อให้เกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด

 

ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่ https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/

ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับ Biopharm ทาง Line Official : @biopharm หรือ https://lin.ee/iu3gZAE