กระดูกพรุน ทำไมคนไทยมีความเสี่ยงมากกว่าชาติใดในโลก ?
รู้หรือไม่? อายุยิ่งมาก…ความหนาแน่นของมวลกระดูกยิ่งลด! ส่งผลให้เกิดโรค กระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่กระดูกบางลง หักง่าย เมื่อได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกต้นขา หรือหลังโค้งงอ เนื่องจากกระดูกสันหลังยุบตัวเข้าหากัน ซึ่งพบมากในสตรีวัยหมดประจำเดือนและสูงอายุ เพราะขาดฮอร์โมนในการสร้างกระดูก
3 เหตุผลที่คนไทยอาจมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากกว่าชาติอื่นๆ
กรรมพันธุ์ กระดูกพรุน ที่มากับผิวขาวของสาวเอเชีย
ถึงแม้ว่าประเภทผิว และจำนวนเม็ดสีของสาวเอเชียจะสามารถเอื้อต่อการดูดซึมวิตามิน
หนีแดดเพราะกลัวดำ พฤติกรรมหลบวิตามินดี
แสงแดดเป็นเหมือนศัตรูตัวร้ายของสาวๆที่อยากมีผิวขาว ก็จะพยายพามหลบแดดกันให้มากที่สุด เพราะกลัวรังสี UVA/UVB จะเผาผิวสวยให้เสียไป แต่จริงๆแล้วแสงแดดนั้นมีประโยชน์ดีๆที่ส่งผลถึงกระดูกเชียวนะ! ในแสงแดดยามเช้ายังมีวิตามินดีที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต รวมถึงเสริมสร้างกระดูกและฟันอีกด้วย ดังนั้น หากร่างกายขาดวิตามินดีก็จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการของกระดูกและฟันในร่างกายไปด้วย
นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune System) การที่สาวๆหลบแดดก็เหมือนการหลบวิตามินดีไปด้วยนั่นเอง แทนที่จะหลีกเลี่ยงแดดตลอดเวลา ลองออกมาสัมผัสแสงแดดอ่อนๆยามเช้า เลือกช่วงเวลาที่แดดอ่อนๆพอนะคะ
อาหารโซเดียมสูงแคลเซียมต่ำ ทำแคลเซียมสลาย
อีกพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อระบบร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ “พฤติกรรมการรับประทาน” นั่นเอง ลองสังเกตพฤติกรรมการประทานอาหารของตัวคุณเองดูว่าชอบรับประทานอาหารแบบไหน ซึ่งอาหารจานโปรดของชาวไทยส่วนมากจะเป็นอาหารที่มีรสค่อนข้างจัด หนักเครื่องปรุง แม้จะมีผักหรือเนื้อสัตว์ที
ในทางกลับกันหากคุณต้องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ คุณต้องรับประทานอาหารที่มี “แคลเซียม” การจะเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายต้องรู้ก่อนว่าเราจะพบแคลเซียมได้จากอาหารประเภทไหนบ้าง ซึ่งเราสามารถพบแคลเซียมได้ในน้ำนม น้ำส้ม ปลา บรอกโคลี ถั่วเปลือกแข็ง งา สาหร่ายทะเล แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอถึงจะได้รับแคลเซียมที่เพียงพอในแต่ละวัน หรือง่ายกว่านั้นคือการเลือกรับประทานผลิตภัรฑ์เสริมอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลัก ก็สามารถช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากพอ ช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
ประมาณ 99% ของแคลเซียม ( คลิ้กเพื่ออ่านบทความเกี่ยวกับแคลเซียม ) ในร่างกายจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการสร้างกระดูก ฟัน เล็บ และผม ทำให้กระดูกและฟันมีความหนาแน่นแข็งแกร่ง ส่วนแคลเซียมอีก 1% จะไหลเวียนอยู่ในเลือด ดังนั้น แคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก และเป็นสารสำคัญในการช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุน
นอกจากนี้แคลเซียมในเลือดยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆด้าน เช่น
- มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของมวลกล้ามเนื้อ
- มีผลต่อสารสื่อประสาท
- ป้องกันการไหลของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
- มีผลต่อการเต้นของหัวใจ
- ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้
ร่างกายจะเริ่มสะสมแคลเซียมในกระดูกตั้งแต่วัยเด็ก และจะสะสมมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น ผู้หญิงจะมีแคลเซียมสูงถึง 90% เมื่ออายุ 18 ปี และผู้ชายในอายุ 20 ปี โดยทั้งสองเพศจะมีระดับแคลเซียมในร่างกายสูงสุดเมื่ออายุ 30 ปี หลังจากนี้จะไม่มีการสะสมแคลเซียมแล้ว หากร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่มากพอกระดูกจะเริ่มผุ หลังจากผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้ว 5-7 ปี ผู้หญิงจะมีการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกประมาณ 3-5% ต่อปี ซึ่งอาจสูงถึง 20% ของมวลกระดูกทั้งหมด
อย่าปล่อยให้ภัยเงียบจาก กระดูกพรุน เกิดขึ้นกับตัวคุณแล้วค่อยรักษา
ความหนาแน่นของมวลกระดูกนั้นจะลดน้อยลงไปตามกาลอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และปัจจัยทางด้านฮอร์โมนต่างๆมักจะทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยลงไปเรื่อยๆ ความต้องการของแคลเซียมเพิ่มขึ้นตามวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนั้น การเสริมแคลเซียม ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ อย่าปล่อยให้รู้ตัวเมื่อสายเกินแก้ หมั่นเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายในทุกๆวัน ด้วยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการ ออกไปสัมผัสแสงแดดอ่อนๆบ้าง หรือเลือกวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือการรับประทานแคลเซียมเป็นประจำก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้นะคะ ทีนี้เรามาดูกันว่าร่างกายในแต่ละวัยมีความต้องการแคลเซียมแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
- เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม
- วัยรุ่น (11-25 ปี) ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
- วัยผู้ใหญ่ (25 ปีขึ้นไป) ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
- สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
- ผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม
ผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 19-50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ต้องการ 1,200 มิลลิกรัม
ดังนั้น คนในแต่ละช่วงวัยควรเลือกการรรับประทานเพื่อเสริมแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัยของตนเองด้วย จึงจะช่วยให้ร่างกายห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้
ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่ https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/
ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับ Biopharm ทาง Line Official : @biopharm หรือ https://lin.ee/iu3gZAE
ข่าว / กิจกรรม
ไบโอฟาร์มมอบยาและเจลล้างมือแก่ จนท.เขาใหญ่
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คนกลุ่มเล็กๆ ที่ถูกขนานนามว่า "นักรบแห่งพงไพร"
ร่วมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านทันตกรรม
ไบโอฟาร์มและไบโอแลป ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ ศ.ดร.ทพญ. วรานันท์ บัวจีบ (ที่ 2 จากซ้าย) คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมมือแพทย์ รพ.สมุทรสาคร ให้ความรู้ปัญหากระดูก
บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด โดยนายชวิศ เพชรรัตน์ โครงการ 45 ปี ไบโอฟาร์มเพื่อชุมชน ปีที่ 6 พร้อมด้วย อาจารย์นายแพทย์เทพรักษา เหมพรหมราช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมุทรสาคร
พรปีใหม่จากพันธมิตรคนสำคัญ
คณะผู้บริหารชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย เข้าพบปะและอวยพรปีใหม่คณะผู้บริหาร บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด
เติมยา เติมความห่วงใย ปีที่ 5
บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด โดยนายชวิศ เพชรรัตน์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด
รวมน้ำใจ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดอุบลราชธานี
บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด โดยภก. ปริญญา เปาทอง ผู้อำนวยการฝ่ายประสานงานองค์กร มอบเงินบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ประชุมวิชาการที่ สปป.ลาว
ภก.อรรณพ มโนมัยวิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด